สารประกอบฟีนอล
สาร
ประกอบฟีนอล
(phenolic compound หรือ phenolics) ได้แก่
สารประกอบที่มี aromatic
ring และอย่างน้อย 1 hydroxyl group
และรวมไปถึงอนุพันธุ์ของสารประกอบฟีนอลซึ่งมีการแทนที่ด้วยหมู่เคมีต่างๆ
ตัวอย่างสารประกอบฟีนอล ได้แก่ flavonoids, lignin,
ฮอร์โมน
abscisic acid, cinnamic acid, caffeic acid,
chlorogenic acid,
กรดอะมิโน tyrosine, phenylalanine และ
dihydroxy-phenylalanine
(DOPA), coenzyme Q
และผลผลิตจากเมแทบอลิซึมอีกหลายชนิด
สารประกอบฟีนอลเป็นตัวแทนของสารในธรรมชาติที่นับว่ามีปริมาณมากชนิดหนึ่งและ
มีความสำคัญต่อสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยว
เนื่องจากหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสีและกลิ่นรส
ความเข้มข้นของสารประกอบฟีนอลแตกต่างกันไปอย่างมากมายในผลิตผลหลังการเก็บ
เกี่ยว
เช่น ในผลไม้สุกอาจมีปริมาณตั้งแต่น้อยมาก ไปจนถึง
8.5% ของน้ำหนักแห้ง
ในผลพลับ (persimmon, Diospyros kaki, L.f.) ดังแสดงในตารางที่
1
สาร
ประกอบฟีนอลในพืชโดยทั่วไปแสดงคุณสมบัติเป็นกรด
ซึ่งจะสร้างพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุลอื่นอย่างรวดเร็ว
และพบบ่อยที่ทำปฏิกิริยากับพันธะเปปไทด์ของโปรตีน
และเมื่อโปรตีนนี้เป็นเอนไซม์ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมักทำให้เอนไซม์หมดสภาพ
ซึ่งมักเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอนไซม์ในพืช
โดยรวมแล้วสารประกอบฟีนอลจะไวต่อการเกิดออกซิเดชั่นโดยเอนไซม์
phenolases ซึ่งเปลี่ยน monophenols ไปเป็น diphenols
และเปลี่ยนต่อไปเป็น
quinones นอกจากนี้สารประกอบฟีนอลบางตัวยังสามารถ
chelate กับโลหะ
สารประกอบฟีนอลภายในเซลล์ที่อยู่ในรูปอิสระนั้นพบน้อยมาก
ส่วนใหญ่มักพบรวมอยู่กับโมเลกุลอื่น หลายชนิดพบในรูป glycosides
โดยเชื่อมต่อกับมอโนแซคคาไรด์หรือไดแซคคาไรด์ โดยเฉพาะกลุ่มของ
flavonoids ซึ่งมักรวมกับน้ำตาล นอกจากนี้สารประกอบฟีนอลยังอาจรวมกับสารประกอบอื่นอีกหลายชนิด
เช่น hydroxycinnamic acid อาจพบรวมกับ organic acids, amino
groups, lipids, terpenoids, phenolics และกลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำตาล
การรวมตัวในลักษณะนี้ภายในเซลล์เป็น monophenols และ diphenols
ทำให้เกิดความเป็นพิษกับพืช (phytotoxic) น้อยกว่าในรูปอิสระ
การแบ่งชนิดของสารประกอบฟีนอล
แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามจำนวน phenol rings ที่มีอยู่
1.Monocyclic phenols มี 1 phenol ring ที่พบทั่วไปในพืชได้แก่ phenol, catechol, hydro-quinone และ p-hydroxycinnamic acid
2.Dicyclic phenols มี 2 phenol rings ได้แก่ flavonoids และ lignans
3. Polycyclic phenols หรือ polyphenol ได้แก่ lignins, catechol melanins, flavolans (condensed tannins)
หน้าที่ทางชีววิทยาโดยทั่วไปของสารประกอบฟีนอลในพืชจะปรากฎในหลายลักษณะเช่น
รงควัตถุ ฮอร์โมน abscisic acid, lignin, coenzyme Q หรือบางชนิดอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเป็น
allelopathic agents, feeding deterrents, antifungal agents และ phytoalexin
อย่างไรก็ตามหน้าที่ที่แน่นอนของสารประกอบฟีนอลส่วนใหญ่ในพืชนั้นยังเป็นที่สงสัย
แต่ทั้งนี้อาจจำแนกหน้าที่ความสำคัญของสารประกอบฟีนอลออกเป็น 3 ประการดังนี้
(จริงแท้, 2538)
1.การต้านทานโรค
สารประกอบฟีนอลหลายชนิดสามารถป้องกันหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิดได้
เช่น protocatechuic acid ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอลที่มีมากในหอมหัวใหญ่สีม่วง
จะต้านทานต่อโรค smudge ที่เกิดจาก Colletotrichum circinan
ได้ดี แต่ในหอมพันธุ์สีขาวจะไม่มีสารตัวนี้จึงอ่อนแอต่อโรค smudge
สารสกัดที่ได้จากหัวหอมนี้สามารถป้องกันการงอกและยับยั้งการเจริญของเชื้อราชนิดนี้ด้วย
2.รสฝาด
รสฝาดของผลไม้หลายๆ ชนิด
จะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารประกอบฟีนอลในผล
ช่วงน้ำหนักโมเลกุลของสารประกอบฟีนอลที่จะให้ความฝาดนั้นอยู่ในช่วง
500-3,000
ซึ่งสามารถที่จะรวมตัวกับโมเลกุลของโปรตีนในปากทำให้รู้สึกฝาดได้
เมื่อผลไม้พัฒนาเข้าสู่การบริบูรณ์
สารประกอบฟีนอลจะลดลงนอกจากนี้สารประกอบฟีนอลยังเกิดการรวมตัวเป็นโมเลกุล
ใหญ่
(polymerization)
และการรวมตัวของสารประกอบฟีนอลเป็นโมเลกุลใหญ่จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ
จากโมเลกุลที่ละลายน้ำกลายเป็นโมเลกุลที่ไม่ละลายน้ำ
ซึ่งทำให้ความฝาดลดลงเมื่อผลไม้บริบูรณ์เต็มที่
ส่วนรสขมในผลไม้ตระกูลส้มนั้นเป็นผลจาก
naringin ซึ่งพบมากและเป็นสารประกอบฟีนอลที่ให้รสขมสูง ส่วนรสขมของแตงกวาซึ่งเกิดจาก
cucurbitacin หรือ รสขมซึ่งเกิดจาก limonoids ในพวกส้ม ไม่ใช่สารประกอบฟีนอล
แต่เป็นสารประกอบพวก triterpenoid
3.สี
สีของผักผลไม้ซึ่งเป็นสีของแอนโทไซยานินก็เป็นสีของสารประกอบฟีนอล
นอกจากนี้การที่ผักหรือผลไม้เกิดสีน้ำตาลเนื่องจากการทำงานของเอนไซม์
polyphenol oxidase (PPO) ซึ่งเปลี่ยนโมเลกุลของฟีนอลไปเป็น
quinone แล้วเกิด polymerization และมีสีน้ำตาล การยับยั้งปฏิกิริยานี้ทำได้โดยเก็บไว้ภายใต้สภาพที่มี
O2 น้อย หรือใช้ ascorbic acid ไป reduce quinone
ไม่ให้เกิด polymerization
ปริมาณของ
PPO จะมีมากในผลไม้ เมื่อผลยังเล็กและจะลดลงเมื่อผลบริบูรณ์และสุก
สันนิษฐานว่า quinone ที่ได้จากการทำงานของ PPO มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น